rss

การเร่งผลักน้ำโดยใช้เรือผลักน้ำลงสู่ทะเล

ก่อนอื่นๆต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายก่อนครับว่าเขาทำไปเพื่ออะไร อันดับเเรกไม่ใช่การผลักดันน้ำทั้งเเม่น้ำให้ออกทะเล

ถ้าอยากจะเอาน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาออกที่อัตรา 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงเท่ากับที่มาจากเขื่อนเจ้าพระยา ต้องมีเขื่อนปิดปากแม่น้ำแล้วใช้ปั๊มสูบน้ำขนาดยักษ์หลายๆตัวที่มีกำลังรวมกันไม่ต่ำกว่า 100,000 แรงม้าสูบออก แต่เราไม่มีเขื่อนกั้นปากแม่น้ำทำไปก็ไม่มีประโยชน์

ทุกวันนี้เราระบายน้ำเจ้าพระยาด้วยการปล่อยให้ไหลลงทะเลตามธรรมชาติ แต่ แม่น้ำเจ้าพระยาได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล เวลาน้ำทะเลขึ้นน้ำทะเลก็จะดันน้ำจืดไหลกลับเข้ามาในแม่น้ำอีก ลองสังเกตดูที่แม่น้ำตอนน้ำขึ้นน้ำจะไหลกลับขึ้นมาทางด้านต้นน้ำ พร้อมทั้งระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้น อิทธิพลของน้ำทะเลสามารถดันให้น้ำไหลกลับไปได้ถึงประมาณปทุมธานี

ดังนั้นในแต่ละวันแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างที่หลายคนเข้าใจ ขึ้นอยู่ว่าเป็นวันน้ำเดี่ยว น้ำคู่ หรือน้ำผสม ลองหาอ่านได้เรื่องน้ำขึ้นน้ำลงครับ วันนึงอาจจะระบายได้ประมาณเต็มที่แค่ 12-16 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้นตอนเวลาน้ำลงเราต้องช่วงชิงเวลานี้ให้เป็นประโยขน์ที่สุด ช่วยได้เท่าไร ถึงจะแค่หยิบมือก็ต้องเอาเป็นวิธีเดียวที่เราสามารถเอาน้ำจากเจ้าพระยาลงทะเลได้ อย่าลืมนะครับเรายังมีน้ำอยู่ที่ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี อยุธยาอีกหลายพันล้านลูกบาศก์เมตรน้ำพวกนี้ถ้าจะให้มันระเหยขึ้นฟ้าเป็นปีก็ไม่หมดครับ ถ้าน้ำที่ปลายเจ้าพระยายังไม่ออกทะเลน้ำข้างบนก็มายากขึ้นครับเพราะความต่างระดับมันต่างกันไม่เยอะ ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรต่างระดับกันแค่ 10 กว่าเมตรคิดเป็นอัตราส่วนความลาดเอียงแทบจะมองไม่เห็นว่ามันเอียง

ระหว่างทางที่น้ำไหลผ่านจุดต่างๆที่มีการขัดขวางน้ำจะลดอัตราการไหลและเพิ่มความสูงที่เรียกว่าเอ่อครับ การไหลในลำน้ำเขาเรียก Open channel flow อัตราการไหลมันไม่คงที่ครับ เวลาน้ำผ่านคอสะพานก็จะสูญเสียพลังงานไปกับการต้านทานของเสาสะพานหากอยากจะคงที่อัตราการไหลก็ต้องใส่พลังงานไปชดเชยครับ เราเอาเรือเพื่อไปชดเชยการสูญเสียพลังงานเฉพาะจุดครับ ต่อให้เอาเรือบรรทุกเครื่องบินมาขับน้ำที่สะพานพระราม 7 เลยไปไม่กี่ร้อยเมตรมันก็หมดแรงแล้ว อีกจุดที่ทำก็คือบริเวณสะพานพุทธเพราะแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นแคบมากแถมมีสะพานซ้อนกันถึงสองสะพานคือสะพานพุทธและสะพานพระพุทธเลิศหล้า ส่วนจุดที่สำคัญที่สุดได้ประโยชน์สุดคือประตูคลองลัดโพธิ์เพราะหลังคลองลัดโพธิ์ก็คือช่วงตรงที่ออกทะเลแล้ว ใบจักรของเรือคือปั๊มชนิด Propeller pump เป็นปั๊มที่ให้อัตราการไหลสูงที่สุดในบรรดาปั๊มด้วยกันลองอ่านในนี้ได้ครับhttp://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11152352/X11152352.html

ผมลองคำนวณคร่าวๆเรือที่กองทัพเรือใช้อยู่น่าจะดันน้ำออกได้ชั่วโมงละ 70,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ช่วงนี้เดินเครื่องได้แค่วันละหกชั่วโมง ผมคิดค่าน้ำมันให้ด้วยอยู่ที่ 20 สตางค์ต่อการผลักดันน้ำหนึ่งลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำสี่แสนกว่าตันต่อวันที่ช่วยได้ถึงจะว่ามันน้อยแต่ผมว่ามันมีความหมายครับ
ซึ่งผมว่าสำหรับค่าใช้จ่ายเเค่ 20 สตางค์ต่อการขนวัตถุหนัก 1 ตันถูกเหลือเกินครับ

= = = = = = =
ข่าว
รัฐบาลใช้เรือของหน่วยงานราชการ เเละขอความร่วมมือจากประชาชนที่มีเรือช่วยกันผลักดันน้ำจากเเม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่อาวไทยโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร หลังจากกรมชลประทานคาดการณ์ว่าน้ำเหนือจะมาถึงกรุงเทพมหานครในสัปดาห์หน้า

เรือหลวงเเสมสาร เเละปทุมวัน 1 รวมถึงเรือจากหน่วยงานต่างๆ เร่งเครื่องผลักดันน้ำจากเเม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล ที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อำเภอพระประเเดง จังหวัดสมุทรปราการในขณะที่น้ำทะเลหนุนสูง โดย พล.ร.ท.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ รองเสนาธิการทหารเรือ เปิดเผยว่า การนำเรือของกองทัพเรือ เเละหน่วยงานต่างมาร่วมปฏิบัติการณ์สามารถผลักดันน้ำออกสู่ทะเลได้วันละ 40 – 45 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

นอกจากนี้ รองเสนาธิการทหารเรือ ระบุว่า การผันน้ำด้วยวิธีการเช่นนี้สามารถผันน้ำได้ในปริมาณมาก เเละเมื่อวัดระดับหลังจากการผันน้ำไปเเล้วลดระดับลงถึง 15 เซนติเมตร เเละสำหรับในวันนี้ เมื่อเวลาประมาณ 6.00 น. ที่ผ่านมา เรือพักการผลักดันน้ำชั่วคราว เเละจะเริ่มอีกครั้งในเวลา 12.30 – 18.00 น. เเละจะมีปฏิบัติการณ์ผลักดันน้ำต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งในช่วงปลายเดือนนี้ กองทัพเรือระบุว่า ปริมาณของน้ำทะเลจะหนุนสูงที่สุด ให้ประชาชนเตรียมรับมือไว้

ส่วนใครที่มีเรือ เเละต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฏิบัติภารกิจ เพื่อผลักดันน้ำออกสู่ทะเล เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครสามารถนำเรือเข้าร่วมปฏิบัติการ โดยรัฐบาลจะสนับสนุนน้ำมันให้กับผู้เข้าร่วมปฏิบัติการณ์ในครั้งนี้

Loading Facebook Comments ...